เพราะอะไร ? สัตวแพทย์ ถึงเป็นตำแหน่งงานที่น่าสนใจ

Posted: 23/04/2019

คุณอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่าการจะเลือกเดินสายอาชีพสัตวแพทย์ได้นั้น ต้องมีใจรักอย่างมาก เพราะนอกจากการศึกษาร่ำเรียนอย่างหนักพอๆกับแพทย์ อีกทั้งเมื่อถึงวัยทำงานก็ยังต้องเจอกับเคสยากๆหรืองานที่หนักจนกระทบกับเวลาส่วนตัว แต่รายได้และหน้าตาทางสังคมกลับน้อยกว่าแพทย์ที่รักษาคน แน่นอนว่าผู้ที่เลือกเส้นทางสัตวแพทย์ถูกขับเคลื่อนด้วยความมุ่งมั่นและจิตใจที่โอบอ้อมอารี อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากปัจจัยเหล่านั้น จริงๆแล้วอาชีพสัตวแพทย์ ยังมีความน่าสนใจหลายด้านที่แอบซ่อนอยู่

งานสัตวแพทย์ ไม่ได้น่าสนใจเพียงเพราะขาดแคลน เท่านั้น

ถ้าอ้างอิงตามจำนวนเลขที่ขึ้นทะเบียนกับสัตวแพทยสภา ที่มีตัวเลขอยู่ที่หลักหมื่นต้นๆ ก็อาจจะบอกได้ว่า “สัตวแพทย์ขาดแคลน” อย่างไรก็ตามเราไม่อยากให้คุณมองว่าความน่าสนใจของ อาชีพหนึ่งจะเกิดขึ้นเพราะความขาดแคลน แต่เราอยากให้มองถึงประเด็นอื่นประกอบด้วย

เทรนด์การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเติบโตขึ้นและยังจะไม่หยุดอยู่แค่นี้

ทุกวันนี้สัตว์เลี้ยงน่ารักหลายประเภทเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างมาก เพราะ นอกจากจะเป็นเพื่อนที่ช่วยแก้เหงา พวกเขาเหล่านี้ยังเข้ามาเติมเต็มความสุขในครอบครัวได้เป็นอย่างดี

คุณเชื่อหรือไม่ว่า ภาพรวมของธุรกิจสัตว์เลี้ยงเติบโตเฉลี่ย 10-15% ต่อปี นับตั้งแต่ปี 2559 และคาดว่าจะเติบโตต่อไปอีกจากการที่สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ ที่นิยมแต่งงานช้าและลดลง อัตราการมีบุตรลดลง การดำรงสถานะโสดมากขึ้น การอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวเชิงเดี่ยว หรือการอาศัยเพียงลำพังมากขึ้น รวมถึงความเชื่อที่ว่า “การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงก็เหมือนการฝึกเลี้ยงลูกไปในตัว ก็นำมาสู่การมีสัตว์เลี้ยงเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนั้นยังมีสื่อโซเชียล และกลุ่มของคนรักสัตว์ที่มีการแชร์ภาพพฤติกรรมของสุนัข แมว และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ บนโลกออนไลน์มากขึ้น ผู้บริโภคมีกำลังซื้อทำให้หันมานิยมเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น

จำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่ม = ความต้องการรักษาที่เพิ่มขึ้น

สัตว์เลี้ยงก็เป็นสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง ดังนั้นการมีอาการเจ็บป่วย หรือ ปัญหาทางด้านสุขภาพ ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ไม่ต่างจากมนุษย์ และปัจจุบันคนเราก็ใส่ใจเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยง เพิ่มขึ้นทุกปี สังเกตได้จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้น โดยผู้เลี้ยงจะใช้จ่ายต่อสัตว์เลี้ยงมากขึ้นถึง 54% ภายใน 5 ปี โดยในปี 2560 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,770 บาท/ตัว/ปี เพิ่มจากปี 2555 ที่มีค่าใช้จ่าย 1,145/ตัว/ปี

แม้จะมีหลายธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายตรงนี้ เช่น เสื้อผ้า บริการอาบน้ำและตัดขน โรงเรียนฝึกสัตว์เลี้ยง ฯลฯ แต่หนึ่งในค่าใช้จ่ายที่เติมโตขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ก็คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบริการ ทางการแพทย์ของสัตว์เลี้ยง นั่นเอง ดังนั้นเมื่อมีความต้องการจากตลาดเพิ่มขึ้น สัตวแพทย์จึงเป็นอาชีพ และตำแหน่งงานที่ต้องการบุคลากร เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

บทบาทของสัตวแพทย์ ไม่ใช่แค่รักษาสัตว์เลี้ยงเท่านั้น

แม้ว่าความต้องการส่วนใหญ่สำหรับการประกอบอาชีพสัตวแพทย์คือการได้รักษาหรือศัลยกรรมสัตว์เลี้ยง แต่แท้จริงแล้วความรู้ ทักษะ และความสามารถของสัตวแพทย์ยังมีบทบาทอื่นที่น่าสนใจด้วย

ตัวอย่างที่น่าสนใจเช่น หน้าที่ของสัตวแพทย์ซึ่งช่วยดูแลโภชนาการ ดูแลโปรตีนให้คนคือ พวกเนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อสัตว์ต่างๆ ที่มนุษย์รับประทานเป็นอาหาร สัตวแพทย์จะมีหน้าที่ดูแลสัตว์เหล่านี้ตั้งแต่เกิดมา เลี้ยงดูให้ยารักษากับสัตว์อย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพและไม่ก้อให้เกิดโรคติดต่อสู่มนุษย์

รวมถึงบทบาทที่มีเกียรติและเป็นการช่วยเหลือรวมทั้งอนุรักษ์สัตว์ต่างๆอย่าง แพทย์สัตว์ป่า ซึ่งสามารถแบ่งออกได้อีกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ สัตวแพทย์ในสวนสัตว์ (zoo veterinarian) สัตวแพทย์รักษาสัตว์เลี้ยงพิเศษ (exotic pet veterinarian) และสัตวแพทย์สัตว์ป่า (wildlife veterinarian)

จากตัวอย่างที่ยกมาจะเห็นได้ว่า อาชีพสัตวแพทย์ ไม่ได้มีอยู่แค่ในโรงพยาบาลหรือคลินิกเท่านั้น แต่ยังบทบาทที่น่าสนใจ ท้าทาย และ ตอบโจทย์การเลือกงานในสายนี้ได้เช่นกัน

5 เส้นทางหลักของสัตวแพทย์ ในการประกอบอาชีพ

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้คุณคงจะพอทราบแล้วว่า อาชีพสัตวแพทย์ มีความน่าสนใจจากทั้งแนวโน้ม หรือ เทรนด์ของโลก รวมทั้งโอกาสที่เปิดกว้างจากความรู้ ความสามารถ และ ทักษะที่มี ดังนั้นเราจะมา สรุปให้ดูว่า 5 เส้นทางหลักที่น่าสนใจในการประกอบอาชีพสัตวแพทย์ มีอะไรบ้าง

1. หน่วยงานราชการ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาไทย กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

2. หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ: องค์กรที่แนะนำเช่น สภากาชาติไทย องค์การเภสัชกรรม องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย และ องค์กรสวนสัตว์ เป็นต้น

3. หน่วยงานเอกชน: ทำงานในโรงพยาบาลหรือคลินิกสัตว์ รวมถึง ธุรกิจด้านอาหารสัตว์ ธุรกิจด้านยาสัตว์และเคมีภัณฑ์ ธุรกิจด้านเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับสัตว์ อาจเป็นงานด้านการขาย ด้านการบริการ ด้านวิชาการ ด้านห้องปฏิบัติการ รวมถึงงานด้านการดูแลสุขภาพสัตว์และการเพิ่มผลผลิตในฟาร์ม เป็นต้น

4. ประกอบธุรกิจหรืออาชีพเสริม: การเปิดคลินิกรักษาสัตว์ของตัวเอง รวมถึงการเป็นนักเขียน นักบรรยายหรือ แม้แต่นักวิชาการ เป็นต้น

  • แชร์บทความนี้